วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2559

บทที่ 3 การวางแผนการสอน

บทที่ 3 การวางแผนการสอน

3.1 ความหมายของการวางแผนการสอน
การวางแผนการสอน คือ  การเตรียมการในการจัดการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง ตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์ การคัดเลือกเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การประเมินผล อย่างมีระบบระเบียบ

3.2 ความสำคัญของการวางแผนการสอน
1.เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
2.ช่วยให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ตรงตามหลักสูตร
3.ช่วยให้การสอนบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ
4.ช่วยทำให้เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณค่า
5.ช่วยให้ผู้สอนดำเนินการสอนได้ตรงตามเวลาที่กำหนด
6.ช่วยให้ผู้สอนสอนได้ตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
7.ช่วยให้ผู้สอนมีความมั่นใจในการสอนจากการที่วางแผนการสอนไว้ดี
8.ช่วยให้ผู้สอนมีเอกสารเตือนความจำ

3.3 ลักษณะของการวางแผนการสอน
1.ลักษณะของการวางแผนการสอน
1.การวางแผนการสอนระยะยาว  เป็นการวางแผนการสอนแบบหยาบๆ ตลอดภาคเรียนหรือตลอดปีการศึกษา  ผู้สอนจะต้องเตรียมการและวางแผนดังนี้
        1.1 ศึกษารายละเอียดในหลักสูตรรายวิชา ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ทั่วไปของหลักสูตรและขอบเขตเนื้อหาสาระโดยย่อ
        1.2 จัดเลียงลำดับหัวข้อเนื้อหา
        1.3 จัดตรียมกำหนดการวัดผลการเรียนตามแนวหลักสูตร
2.การวางแผนการสอนระยะสั้น  เป็นการวางแผนการสอนประจำวันเป็นรายคาบที่ทำการสอนหรือเป็นรายหัวข้อเนื้อหา
2. องค์ประกอบของการวางแผนการสอน
1.ศึกษาและเตรียมทรัพยากรพื้นฐาน
        1.1  หลักสูตร
        1.2  ผู้เรียน
        1.3  สิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์สื่อต่างๆ
2.ขั้นกำหนดแนวทางและวิธีการสอน
        2.1  กำหนดวัตถุประสงค์
        2.2  กำหนดวิธีการนำเข้าสู่บทเรียนและการสร้าง
แรงจูงใจ
        2.3  กำหนดวิธีสอนในแต่ละขอบเขตเนื้อหาและวัตถุประสงค์
        2.4  กำหนดสื่อการเรียนการสอน
        2.5  กำหนดเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอน
        2.6  กำหนดวิธีการประเมิน
3.ขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน เป็นการนำสิ่งที่ได้ศึกษาจัดเตรียมไว้ มาใช้
4.ขั้นการประเมินผล เป็นขั้นของการตรวจสอบว่าผลปฏิบัติการที่ผ่านมาเป็นเช่นไร
3.  กระบวนการวางแผนการสอน
1.ศึกษาหลักสูตร วัตถุประสงค์ทั่วไป  ขอบเขตเนื้อหา
2.ศึกษาผู้เรียน
3.กำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
4.เลือกวิธีการสอนตลอดจนสื่อการเรียนการสอน
5.ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน
6.ประเมินผลการเรียนการสอน
7.ศึกษาข้อมูลย้อนกลับเพื่อนำมาปรับปรุงการสอนต่อไป

3.4  การทำแผนการสอน
1. ความหมายของแผนการสอน คือ  การเตรียมการสอนเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าหรือบันทึกการสอน
    2. ความสำคัญของแผนการสอน
1.สำหรับใช้เป็นแนวทางในการสอน
2.ช่วยให้ครูมีคู่มือการสอนที่ทำด้วยตนเอง ทำให้เกิดความสะดวกในการจัดการเรียนการสอน
3.เป็นผลงานวิชาการที่สามารถเผยแพร่เป็นตัวอย่าง
4.ทำให้เกิดการวางแผนวิธีการสอน
5.สำหรับชี้ให้เห็นแนวทางในการสร้างข้อสอบเพื่อประเมินผลการเรียน
3. องค์ประกอบของแผนการสอน
1.วิชา หน่วยที่สอน
2.จุดประสงค์การสอน
3.เนื้อหา
4.กิจกรรมการเรียนการสอน
5.สื่อการเรียนการสอน
6.การวัดและประเมินผล
  4. ขั้นตอนในการเขียนแผนการสอน
1.ศึกษาและจัดเตรียมทรัพยากรพื้นฐาน
    1.1  ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรในรายวิชาที่สอน  เช่น จุดประสงค์รายวิชา คำอธิบายรายวิชา เนื้อหา และกิจกรรมเสนอแนะ
    1.2  ศึกษาพื้นฐานผู้เรียน
    1.3  สำรวจทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมต่างๆ  เช่น งบประมาณ อุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน  สถานที่
2.ย่อเนื้อหา ย่อยวัตถุประสงค์การเรียนรู้ และจัดคาบเรียนให้เหมาะสมกับการสอน
3.ศึกษาแนวการสอนจากครูมือครูต่างๆ
4.เขียนแผนการสอน
  5.หลักการเขียนแผนการสอน
1.ชื่อเรื่อง หรือชื่อหัวข้อเรื่องย่อย
2.จำนวนคาบ
3.สาระสำคัญแนวคิดสำคัญหรือความคิดรวบยอด
        เป็นประโยคสมบูรณ์และได้ใจความ
        - ใช้คำกะทัดรัดชัดเจนไม่ฟุ่มเฟือย
        มีใจความตรงกับเนื้อหา
4.จุดประสงค์ต้องเขียนเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
5.เนื้อหา
6.กิจกรรมการเรียนการสอน  ระบุการใช้วิธีสอน เช่น ครูบรรยายประกอบการซักถาม
7.สื่อการเรียนการสอน
8.การวัดและประเมินผล  หลักในการเขียนการวัดและประเมินผล คือ
        - เขียนเรียงตามลำดับวิธีการวัดผลที่ใช้ก่อนหลัง
        - เขียนให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
        - เขียนให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน

6.  รูปแบบของแผนการสอน
1.  แบบเรียงหัวข้อ  รูปแบบนี้จะเขียนเรียงลำดับหัวข้อก่อนหลังโดยไม่ต้องตีตาราง

ตัวอย่างรูปแบบการสอนแบบเรียงหัวข้อ
แผนการสอน หน่วยที่ ......................................................
หน่วยที่เรียน.............................................................
เรื่อง.......................................เวลาเรียน......คาบ
1.สาระสำคัญ.......................................................
2.จุดประสงค์.......................................................
        2.1 จุดประสงค์ปลายทาง.......................................
2.1 จุดประสงค์นำทาง..........................................
3.เนื้อหา..............................................................
4.กิจกรรมการเรียนการสอน................................................
5.สื่อการเรียนการสอน.....................................................
6.การวัดและการประเมินผล..................................................
7.กิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติม หรือ ภาคผนวก.....................................
2.แบบกึ่งตาราง  รูปแบบนี้จะเขียนเป็นช่องๆตามหัวข้อที่กำหนด สะดวกในการอ่าน ทำให้เป็นความสัมพันธ์ของแต่ละหัวข้ออย่างชัดเจน

ตัวอย่างรูปแบบแผนการสอนแบบกึ่งตาราง
แผนการสอนกลุ่มวิชา……………………………………..ชั้น…………………………........
หน่วยที่……….เรื่อง…………………..เวลา…………..คาบ………..วันที่…….
สาระสำคัญ…………………………………………………………………….
จุดประสงค์ปลายทาง  1……………………………………………………………………………
2……………………………………………………………………………





7.ลักษณะของแผนการสอนที่ดี
1.สอดคล้องกับหลักสูตร
2.นำไปใช้สอนได้จริงและมีประสิทธิภาพ
3.เขียนอย่างถูกต้องตามหลักการและรูปแบบ เหมาะสมกับผู้เรียนและเวลาที่กำหนด
4.มีความกระจ่าง ชัดเจน ทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายและเข้าใจตรงกัน
5.มีรายละเอียดมากพอที่จะทำให้ผู้อ่านสามารถนำไปใช้สอนได้
6.ทุกหัวข้อในแผนการสอนมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน
8. ข้อคำนึงในการเขียนแผนการสอน
1.เขียนให้ชัดเจน
2.ใช้ภาษาเขียนที่สื่อความหมายได้เข้าใจตรงกัน
3.เขียนให้สอดคล้องสัมพันธ์กันในทุกหัวข้อ
4.เขียนให้เป็นระเบียบสะอาดอ่านง่าย
5.เขียนในสิ่งที่สามารถปฏิบัติได้จริง และสอนตามที่ได้วางแผนไว้



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น