วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

บทที่ 1 ความรู้พื้นเกี่ยวกับการสอน

บทที่ 1 ความรู้พื้นเกี่ยวกับการสอน
1.ความหมายของการสอน
             การสอน คือ วิธีการหลากหลายที่ครูนำมาใช้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามศักยภาพของผู้เรียน
โดยมีลักษณะ 3  ประการดังนี้
1.การสอนเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
2.มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตามจุดประสงค์ที่กำหนดไว้
3.การสอนให้บรรลุวัตถุประสงค์ต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ของผู้สอน
1.1 ความสำคัญของการสอน
1.การสอนเป็นเครื่องมือสำหรับทำให้จุดมุ่งหมายทางการศึกษาของชาติบรรลุผล
2.เป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ความคิด และประสบการณ์
3.เป็นเครื่องมือในการปลูกฝังศิลปวัฒนธรรมของชาติ
4.เป็นเครื่องมือในการพัฒนาคนในชาติ
5.เป็นหัวใจของการศึกษา

2.องค์ประกอบของการสอน
1. หลักสูตร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เพราะเปรียบเสมือนแผนที่ที่จะบอกผู้สอนและผู้เรียนว่าจะดำเนินการสอนไปในแนวทางใน เพื่อวัตถุประสงค์อะไร
2.ครูผู้สอน เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียน
3.นักเรียน เป็นองค์ประกอบสำคัญในการถ่ายทอดความรู้
4.การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เริ่มตั้งแต่
                - การตั้งจุดประสงค์การสอน                
                - การกำหนดเนื้อหา
                - การจัดการเรียนการสอน
                - การใช้สื่อการสอน
                - การวัดและประเมินผล
ไตรยางค์การสอน (O L E)
                O = Objective                      จุดมุ่งหมาย
                L = Leaning Experience         การจัดประสบการณ์
                E = Evaluation                    การประเมินผลการเรียนการสอน

3. หลักการสอน
       3.1 การเตรียมความพร้อมในตัวครูผู้สอน
1.ความรักในอาชีพครู
2.มีเจตคติที่ดีในวิชาที่สอน
3.ความรู้ในวิชาที่สอน
4.มีความสามารถในการถ่านทอดความรู้
               3.2 การวางแผนการสอนอย่างเป็นระบบและชัดเจน
1.การศึกษาหลักสูตรรายวิชา
2.การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการสอน
3.เขียนแผนการสอนอย่างละเอียด
4.เตรียมอุปกรณ์การสอน
5.ทบทวนแผนการสอน
                3.3 ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนตามลำดับขั้นตอน ตามแผนการสอน
1.เทคนิควิธีสอน
2.ใช้ทักษะต่างๆในการถ่ายทอดความรู้
3.คำนึงถึงผู้เรียน
4.ใช้หลักจิตวิทยาการเรียนรู้
                3.4 การสรุปผลการสอน
ลักษณะการสอนที่ดี
1.มีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี
2.สอนอย่างเป็นลำดับขั้นตอนเป็นกระบวนการ
3.ทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทางด้านความรู้ ความคิด ความชำนาญ
4.เร้าความสนใจของผู้เรียน
5.ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์

4.ระบบการสอน
4.1 ความหมายของระบบการสอน
ระบบการสอน หมายถึง การจัดองค์ประกอบของการสอนไว้อย่างมีลำดับขั้นตอนและมีความสัมพันธ์กัน
4.2 ความสำคัญของระบบการสอน
1. ช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปอย่างเป็นลำดับขั้นตอน
2.ช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน
                4.3 องค์ประกอบของระบบการสอน
1.ข้อมูลสู่การสอน คือ ปัจจัยที่นำเข้าสู่ระบบ
2.กระบวนการสอน คือ การดำเนินการสอนตั้งแต่ การนำเข้าสู่บทเรียน ถึงขั้นสรุปผลการเรียน
3.ผลการสอน คือ ผลการเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนในทางพึงประสงค์
4.ข้อมูลย้อนกลับ คือ พิจารณาว่ามีข้อบกพร่องตรงไหนบ้าง
                4.4 ระบบการสอนของไทเลอร์ (Tylor)  มี 3 ประการ
1.ต้องกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนการสอนที่ชัดเจน
2.ต้องเลือกเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย
3.การประเมินผลการสอนต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย
                4.5 การนำระบบการสอนไปใช้
1.เตรียมการสอน
2.ดำเนินการสอน
3.ประเมินผล

5. การเรียนรู้กับการสอน
                5.1 ความหมายของการเรียนรู้
การเรียนรู้ หมายถึงกระบวนการที่บุคคลสามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมหลังจากที่ได้รับสิ่งเร้าต่างๆ
                5.2 ลักษณะของการเกิดการเรียนรู้
1.การเรียนรู้จากธรรมชาติ
2.การเรียนรู้นอกระบบ
3.การเรียนรู้ในระบบ
                5.3 องค์ประกอบของการเรียนรู้
1.แรงขับ (Drive)
                -แรงขับปฐมภูมิ
                -แรงขับทุติยภูมิ
2.สิ่งเร้า (Stimulus) เป็นตัวกำหนดทำให้บุคคลมีปฏิกิริยาโต้ตอบออกมาและเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมว่าจะแสดงอาการตอบสนองออกมาในลักษณะใด
3.การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมที่แสดงออกเมื่อได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า
4.การเสริมแรง (Reinforcement) สิ่งที่มาเพิ่มกำลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง
                5.4 ทฤษฎีการเรียนรู้ (Theories of Learning)
1.ทฤษฎีการเรียนรู้ของธอร์นไดด์ (Thorndike) เรียกว่าการลองผิดลองถูก
2.ทฤษฎีการเรียนรู้ของพาฟลอฟ คือการกำหนดเงื่อนไขระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง

6. จุดประสงค์การสอน
6.1 ความหมายของจุดประสงค์การสอน
คือ ข้อความที่ระบุผลที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนเมื่อเรียนจบหน่วยการเรียนหนึ่งๆ
6.2 ความสำคัญของจุดประสงค์การสอน
1.เป็นสิ่งกำหนดทิศทางการเรียนการสอน
2.เป็นสิ่งกำหนดแนวทางในการเลือกและกำหนดเนื้อหา
3.เป็นสิ่งกำหนดวิธีการสอนและจัดลำดับขั้นตอนการสอน
4.เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนให้สอดคล้องกับวิธีการสอน
6.3 ประเภทของจุดประสงค์การสอน
1.จุดประสงค์ทั่วไป (General Objective)
คือ จุดประสงค์ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนควรจะดำเนินการเรียนรู้อะไรบ้างหลังจากที่ผ่านการเรียนการสอนจุดประสงค์ทั่วไป จำแนกได้ 3 ด้านคือ
1.พุทธิพิสัย (Cognitive Domain) เป็นจุดประสงค์ที่เกี่ยวกับความสามารถทางสติปัญญา
2.จิตพิสัย (Affective Domain) เป็นจุดประสงค์ที่เกี่ยวกับด้านจิตใจ ความรู้สึก
3.ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) เป็นจุดประสงค์ที่เกี่ยวกับทักษะในการเคลื่อนไหวของร่างกาย
2.จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objective)คือ จุดประสงค์ที่บ่งเฉพาะเจาะจงลงไปว่าหลังจากการเรียนการสอนแล้วผู้เรียนสามารถแสดงพฤติกรรมที่สังเกตได้ วัดได้









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น