วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การสอนแบบ MIAP

การสอนแบบ MIAP
การสอนแบบ MIAP จะมีกระบวนการอย 4 มีอยู่ขั้นตอน คือ
Motivation ขั้นสนใจ คือการกระตุ้นความสนใจก่อนเข้าบทเรียน อาจจะเป็นการเล่าเรื่องที่น่าสนใจ การใช้คำถามนำ การแสดง หรือทำอะไรก็แล้วแต่ที่จะให้ผู้เข้าเรียนรู้สึก และคิดตามหลังจากนั้นก็ทำการโยงเรื่องไปสู่ขั้นตอนที่สอง

Information ขั้นศึกษาข้อมูล ขั้นตอนนนี้จะเป็นการให้เนื้อหากับผู้เข้าอบรม เป็นขั้นตอนของสาระ เนื้อหา รายละเอียด และความรู้ต่างๆ จะอยู่ในช่วงนี้
Aplication  ขั้นพยายาม  เป็นขั้นตอนที่ต้องการตรวจสอบผู้เรียนว่ามีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการหรือไม่ ขั้นตอนนี้จะถือเป็นการสอบผู้เรียนนั่นเอง อาจจะใช้ข้อสอบหรือใช้การถามคำถาม หรือให้อธิบายให้ฟัง หรือให้แสดงให้ดู ให้ปฏิบัติจริง
Progress ขั้นสําเร็จผล ขั้นตอนนี้ก็จะต่อเนื่องกับช่วง Aplication เราก็จะนำเอาผลของการสอบ การปฏิบัติมาทำการตรวจสอบว่าผ่านตามวัตถุประสงค์หรือไม่ แล้วก็ Feedback กลับไป ถ้าไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์เราก็จะรู้ว่าผู้เรียนยังขาดความรู้อะไร และก็ทำการแก้ไข แล้วก็สรุปทำความเข้าใจอีกครั้งหนึ่ง
สัดส่วนของ MIAP ช่วง Motivation ก็จะใช้เวลาสั้นๆ ประมาณ 5-10% ของเวลาสอน ช่วง Information ก็จะใช้เวลาประมาณ 70-80% และช่วง Aplication ก็ใช้ประมาณ 20% ส่วน Progress ก็ประมาณ 5-10%

การใช้ MIAP มาช่วยในการสอนจะทำให้เรามั่นใจได้ว่าการสอนของเราบรรลุวัตถุประสงค์จริงๆ ในหนึ่งวัตถุประสงค์เราอาจจะใช้ 1 MIAP หรือ 2 หรือ 3 MIAP ก็ได้ไม่มีการกำหนดตายตัว ถ้าเรามีการวางแผนการสอนที่ดี จะทำให้เราไม่หลุด เนื้อหาไม่ตกหล่น ผู้เรียนก็จะได้เรียนตามวัตถุประสงค์ การเรียนการสอนก็จะประสบผลสำเร็จครับ

วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2559

สรุปความรู้การจัดการเรียนการสอน

การจัดการเรียนการสอน
1.การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ (Cooperative  Learning)
        
 ความหมายของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่ผู้สอนจัดให้ผู้เรียนแบ่งเป็นกลุ่มเล็กๆ ประมาณ 4-6 คน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้โดยการทำงานร่วมกัน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และร่วมกันรับผิดชอบงานในกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย เพื่อให้เกิดเป็นความสำเร็จของกลุ่ม
1.การจัดกลุ่ม(Teams)
หมายถึงการจัดกลุ่มเด็กที่จะเข้าร่วมทำกิจกรรมด้วยกันเพื่อให้เกิดประสิทธิผลมากที่สุด ซึ่งควรจัดเด็กเข้ากลุ่มดังนี้
 จำนวนเด็กในกลุ่ม 3- คน
 ประกอบด้วยเด็กที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง ปานกลาง และตํ่าคละกันไป
 จัดให้มีทั้งเด็กนักเรียนหญิงและนักเรียนชายในกลุ่มเดียวกัน ถ้าในห้องเรียนมีทั้งเด็กนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย
 จัดให้เด็กอยู่ในกลุ่มเดียวกันประมาณ 6 สัปดาห์
2.ความมุ่งมั่น (Will)
หมายถึง ความมุ่งมั่นและอุดมการณ์ของเด็กที่จะทำงานร่วมกัน ซึ่งจะต้องมีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้และมีความกระตือรือร้นในการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกัน เพื่อให้เกิดประสิทธิผลร่วมกัน สามารถสร้างความมุ่งมั่นร่วมกันให้เกิดขึ้นได้โดยใช้กิจกรรมอื่นๆที่ไม่ใช่กิจกรรมทางวิชาการ
 สร้างความมุ่งมั่นของกลุ่มที่จะทำงานร่วมกัน
 สร้างความมุ่งมั่นของชั้นที่จะช่วยกัน
3.การจัดการ (Management)
 หมายถึง การจัดการกลุ่มให้สามารถทำกิจกรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และรวมถึงการจัดการของครูการจัดการภายในกลุ่มเพื่อให้การทำกิจกรรมของกลุ่มประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น
 การจัดที่นั่งของนักเรียนในกลุ่ม
 การแบ่งงานกันภายในกลุ่ม
 การสร้างกฎของห้อง (Class Rule)
 การให้สัญญาณเงียบ (Quiet Signal)
 การดูแลกลุ่มให้ทำงานตามที่มอบหมายหรือที่สนใจ
4.ทักษะทางสังคม (Social Skills)
            หมายถึง การพัฒนาให้เด็กมีทักษะในการทำงาน ทำกิจกรรมร่วมกัน ให้มีร่วมมือช่วยเหลือกันอย่างจริงใจ ให้กำลังใจกัน มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันและที่สำคัญที่สุดคือ ต้องรับฟังความคิดเห็นซึ่งกันและกัน 
5. กฎพื้นฐาน 4 ข้อ (4 Basics Principles : PIES)
 หมายถึง หลักการพื้นฐานของการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจกัน ซึ่งจะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ 4 ประการ จะขาดอย่างหนึ่งอย่างใดไม่ได้ องค์ประกอบดังกล่าวได้แก่
1) การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน (P : Positive Interdependence)
2) การยอมรับความสามารถซึ่งกันและกัน (I : Individual Accountability)
3) ความเสมอภาค (E : Equal Participation )
4) การมีปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง (S : Simultaneous Interaction)
5) รูปแบบของกิจกรรม (Structures)
หมายถึงรูปแบบของกิจกรรมในการทำงานกลุ่มซึ่งมีหลากหลาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาหรือสถานการณ์ที่จะศึกษา เช่น
 ทนายช่างซัก (Rally Robin) ให้นักเรียนคู่กัน พูดคุย ซักถามกัน เรื่องใดเรื่องหนึ่ง
6. รูปแบบของกิจกรรม (Structures)
หมายถึง รูปแบบของกิจกรรมในการทำงานกลุ่มซึ่งมีหลากหลาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาหรือสถานการณ์ที่จะศึกษา ตัวอย่างกิจกรรม เช่น
 สลับสับเปลี่ยน (Timed-Pair-Share) ให้นักเรียนจับคู่กันคนหนึ่งพูดอีกคนหนึ่งฟังแล้วสลับกัน ใช้เป็นกิจกรรมเมื่อเริ่มสอนใหม่ๆ
 ทนายช่างซัก (Rally Robin) ให้นักเรียนคู่กัน พูดคุย ซักถามกัน เรื่องใดเรื่องหนึ่ง

สรุปขั้นตอนในการเรียนแบบร่วมมือร่วมใจ
ขั้นที่ 1 : เลือกเนื้อหาและกําหนดเกณฑ์ที่จะให้นักเรียนเรียนรู้และเข้าใจ
ขั้นที่ 2 : กําหนดวัตถุประสงค์โดยครูเป็นผู้พิจารณาวัตถุประสงค์ของบทเรียน
ขั้นที่ 3 : จัดแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม ครูอธิบายให้นักเรียนทราบถึงวิธีการจัดแบ่งกลุ่ม
ขั้นที่ 4 : ครูบอกสิ่งที่คาดหวังจากกลุ่มให้ชัดเจนและกําหนดเวลาในการทำงาน
ขั้นที่ 5 : ครูเสนอเนื้อหาโดยใช้วิธีสอนที่เหมาะสม
ขั้นที่ 6 : ช่วยเหลือกลุ่มทำงาน ครูช่วยเหลือกลุ่มนักเรียนในขณะที่นักเรียนกําลังทำงาน
ขั้นที่ 7 : ทดสอบ ครูทดสอบความรู้การเรียนรู้ การใช้อุปกรณ์หรือผลงานของกลุ่ม
ขั้นที่ 8 : บันทึกผลที่ได้รับ ครูหาวิธีการบันทึกผลที่ได้รับจากทั้งรายบุคคลและกลุ่ม

2.การจัดกระบวนการเรียนรู้การสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นตอน
1. ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) 
เป็นการนำเข้าสู่บทเรียนหรือเรื่องที่สนใจ ซึ่งอาจเกิดขึ้นเอง จากความสงสัย หรืออาจเริ่มจากความสนใจของตัวนักเรียนเองหรือเกิดจากการอภิปรายในกลุ่ม เรื่องที่น่าสนใจอาจมาจากเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในช่วงเวลานั้น หรือเป็นเรื่องที่เชื่อมโยงกับความรู้เดิมที่เพิ่งเรียนรู้มาแล้ว เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนสร้างคำถาม กำหนดประเด็นที่จะศึกษา ในกรณีที่ยังไม่มีประเด็นใดน่าสนใจ ครูอาจให้ศึกษาจากสื่อต่าง ๆ หรือเป็นผู้กระตุ้นด้วยการเสนอประเด็นขึ้นมาก่อนแต่ไม่ควรบังคับให้นักเรียนยอมรับประเด็นหรือคำถามที่ครูกำลังสนใจเป็นเรื่องที่จะใช้ศึกษา เมื่อมีคำถามที่น่าสนใจ และนักเรียนส่วนใหญ่ยอมรับให้เป็นประเด็นที่ต้องการศึกษา จึงร่วมกันกำหนดขอบเขตและแจกแจงรายละเอียดของเรื่องที่จะศึกษาให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น อาจรวมทั้งการรวบรวมความรู้ประสบการณ์เดิม หรือความรู้จากแหล่งต่าง ๆ ที่จะช่วยให้นำไปสู่ความเข้าใจเรื่องหรือประเด็นที่จะศึกษามากขึ้น และมีแนวทางที่ใช้ในการสำรวจตรวจสอบอย่างหลากหลาย

2. ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) 
เมื่อทำความเข้าใจในประเด็นหรือคำถามที่สนใจจะศึกษาอย่างถ่องแท้แล้ว ก็มีการวางแผนกำหนดแนวทางการสำรวจตรวจสอบ ตั้งสมมติฐาน กำหนดทางเลือกที่เป็นไปได้ ลงมือปฏิบัติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อสนเทศ หรือปรากฏการณ์ต่าง ๆ วิธีการตรวจสอบอาจทำได้หลายวิธี เช่น ทำการทดลองทำกิจกรรมภาคสนาม การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อช่วยสร้างสถานการณ์จำลอง (simulation) การศึกษาหาข้อมูลจากเอกสารอ้างอิงหรือจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างเพียงพอที่จะใช้ในขั้นต่อไป

3. ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation)
เมื่อได้ข้อมูลอย่างเพียงพอจากการสำรวจตรวจสอบแล้ว จึงนำข้อมูล ข้อสนเทศ ที่ได้มาวิเคราะห์ แปลผล สรุปผล และนำเสนอผลที่ได้ในรูปต่าง ๆ เช่น บรรยายสรุป สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ หรือวาดรูป สร้างตาราง ฯลฯ การค้นพบในขั้นนี้อาจเป็นไปได้หลายทาง เช่น สนับสนุนหรือโต้แย้งกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ หรือไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นที่ได้กำหนดไว้ แต่ผลที่ได้จะอยู่ในรูปใดก็สามารถสร้างความรู้และช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้

4. ขั้นขยายความรู้ (Elaboration)
เป็นการนำความรู้ที่สร้างขึ้นไปเชื่อมโยงกับความรู้เดิมหรือแนวคิดที่ได้ค้นคว้าเพิ่มเติม หรือนำแบบจำลองหรือข้อสรุปที่ได้ไปใช้อธิบายสถานการณ์หรือเหตุการณ์อื่น ถ้าใช้อธิบายเรื่องต่างๆ ได้มากก็แสดงว่าข้อจำกัดน้อย ซึ่งก็จะช่วยให้เชื่อมโยงกับเรื่องต่างๆ และทำให้เกิดความรู้กว้างขวางขึ้น

 5. ขั้นประเมิน (Evaluation) 
เป็นการประเมินการเรียนรู้ด้วยกระบวนการต่างๆ ว่านักเรียนมีความรู้อะไรบ้าง อย่างไร และมากน้อยเพียงใด จากขั้นนี้จะนำไปสู่การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในเรื่องอื่นๆ การนำความรู้หรือแบบจำลองไปใช้อธิบายหรือประยุกต์ใช้กับเหตุการณ์หรือเรื่องอื่นๆ จะนำไปสู่ข้อโต้แย้งหรือข้อจำกัดซึ่งก่อให้เป็นประเด็นหรือคำถาม หรือปัญหาที่จะต้องสำรวจตรวจสอบต่อไป ทำให้เกิดเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกันไปเรื่อยๆ จึงเรียกว่า inquiry  cycle กระบวนการสืบเสาะหาความรู้จึงช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ทั้งเนื้อหาหลักและหลักการ ทฤษฎี ตลอดจนการลงมือปฏิบัติ เพื่อให้ได้ความรู้ซึ่งจะเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ต่อไป

3.การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
การสอนแบบบูรณาการ หมายถึง การจัดการเรียนรู้โดยการเชื่อมโยงเนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องจากศาสตร์ต่างๆ ของรายวิชาเดียวกันหรือรายวิชาต่างๆ มาใช้ในการจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่างๆ มาใช้ในชีวิตจริงได้
สำหรับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ (Integrated Learning Management) หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สามารถนำความรู้ ทักษะและ เจตคติไปสร้างงาน แก้ปัญหาและใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง

เหตุผลในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
1.สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันนั้นจะเป็นสิ่งที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันกับศาสตร์ในสาขาต่างๆ ผสมผสานกันทำให้ผู้เรียนที่เรียนรู้ศาสตร์เดี่ยวๆ มาไม่สามารถนำความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหาได้   ดังนั้นการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจะช่วยให้สามารถนำความรู้  ทักษะจากหลายๆ ศาสตร์มาแก้ปัญหาได้กับชีวิตจริง
2.การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ ทำให้เกิดความสัมพันธ์เชื่อมโยงความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้เกิดการถ่ายโอนการเรียนรู้ (Transfer of learning) ของศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกัน ทำให้ผู้เรียนมองเห็นประโยชน์ของสิ่งที่เรียนและนำไปใช้จริงได้
3.การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหารายวิชาต่างๆ ในหลักสูตรจึงทำให้ลดเวลาในการเรียนรู้เนื้อหาบางอย่างลงได้ แล้วไปเพิ่มเวลาให้เนื้อหาใหม่ๆ เพิ่มขึ้น
4.การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจะตอบสนองต่อความสามารถในหลายๆ ด้านของผู้เรียนช่วยสร้างความรู้ ทักษะและเจตคติ “แบบพหุปัญญา” (Multiple intelligence)
5.การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการจะสอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียน (Constructivism) ที่กำลังแพร่หลายในปัจจุบัน

ลักษณะการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
นักการศึกษาหลายท่านได้กล่าวถึงลักษณะของการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการไว้ว่าเป็นการเชื่อมโยงวิชาหรือศาสตร์ต่างๆ เข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งมีลักษณะใกล้เคียงกับชีวิตจริงมากขึ้น ได้แก่
1.บูรณาการระหว่างความรู้และกระบวนการเรียนรู้   ปัจจุบันเนื้อหาความรู้มีมากมายที่จะต้องเรียนรู้หากไม่ใช้วิธีการเรียนรู้ที่ทันสมัยมาใช้จะทำให้เรียนรู้ไม่ทันตามเวลาที่กำหนดได้ จึงต้องมีการนำวิธีการจัดการเรียนรู้ใหม่ๆ มาใช้ เช่น การสอนโดยวิธีการบอกเล่า การท่องจำจะทำให้ได้ปริมาณความรู้หรือเนื้อหาสาระไม่เพียงพอกับสิ่งที่ต้องเรียนรู้ จึงต้องเลือกใช้กระบวนการเรียนรู้ใหม่ๆ ที่เหมาะสม
2.บูรณาการระหว่างพัฒนาการความรู้และทางจิตใจ   การเรียนรู้ที่ดีนั้นผู้เรียนต้องมีความอยากรู้อยากเรียนด้วย   ดังนั้นการให้ความสำคัญแก่เจตคติ ค่านิยม ความสนใจและสุนทรียภาพแก่ผู้เรียนในการแสวงหาความรู้ ก่อให้เกิดความซาบซึ้งก่อนลงมือศึกษาซึ่งเป็นการจูงใจให้เกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
3.บูรณาการระหว่างความรู้และการกระทำ  การเรียนรู้ที่สามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติได้นั้นถือเป็นการดีมาก   ดังนั้นการให้ความสำคัญระหว่างองค์ความรู้ที่ศึกษากับการนำไปปฏิบัติจริงโดยนำความรู้ไปแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
4.บูรณาการระหว่างสิ่งที่เรียนรู้ในโรงเรียนและชีวิตประจำวัน   การตระหนักถึงความสำคัญแห่งคุณภาพชีวิต เมื่อผ่านการเรียนรู้แล้วต้องมีความหมายและคุณค่าต่อชีวิตของผู้เรียนอย่างแท้จริง
5.บูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ   เพื่อให้เกิดความรู้  เจตคติและการกระทำที่เหมาะสมกับความต้องการ  ความสนใจของผู้เรียนอย่างแท้จริง ตอบสนองต่อคุณค่าในการดำรงชีวิตของผู้เรียน
รูปแบบของการบูรณาการ (Model of integration)
การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่พบโดยทั่วไปมีอยู่ 4 แบบ
1.  การบูรณาการแบบสอดแทก (Infusion)
การเรียนรู้แบบนี้ผู้สอนจะนำเนื้อหาของวิชาต่างๆ มาสอดแทรกในรายวิชาของตนเองเป็นการวางแผนการสอนและทำการสอนโดยผู้สอนเพียงคนเดียว
ข้อดี     1.   ผู้สอนคนเดียวบริหารทั้งเนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียนรู้และเวลาที่ใช้โดยสะดวก
2.   ไม่มีผลกระทบกับผู้สอนผู้อื่นและการจัดตารางสอน
ข้อจำกัด 1.   ผู้สอนคนเดียวอาจไม่มีความชำนาญในเนื้อหาวิชาบางเรื่อง
  2.   เนื้อหาวิชาและกิจกรรมการเรียนรู้ที่
จัดอาจซ้ำซ้อนกับของวิชาอื่น
3.   ผู้เรียนจะมีภาระงานมากเพราะทุกรายวิชาจะต้องมอบหมายงานให้
2.  การบูรณาการแบบขนาน (Parallel)
การเรียนรู้แบบนี้ผู้สอนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปต่างคนต่างสอนวิชาของตนเองแต่จะมาวางแผน ตัดสินใจร่วมกันว่าจะจัดแผนการเรียนรู้และจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยมุ่งสอนในหัวเรื่อง (Theme) ความคิดรวบยอด (Concept) และปัญหา (Problem) เดียวกันในส่วนหนึ่ง
ข้อดี     1.   ผู้สอนแต่ละคนยังคงบริหารทั้งเนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียนรู้ เวลาโดยสะดวก
2.   ไม่มีผลกระทบกับผู้สอนผู้อื่นและการจัดตารางสอน
3.   เนื้อหาวิชา กิจกรรมการเรียนลดการซ้ำซ้อนลง ช่วยให้เกิดการทำงานร่วมกัน
ข้อจำกัด 1.   ผู้สอนยังคงต้องรับภาระเนื้อหาวิชาที่ไม่ชำนาญ
   2.   ผู้เรียนยังมีภาระงานมากเพราะทุกรายวิชาจะต้องมอบหมายงานให้
3.  การบูรณาการแบบสหวิทยาการ (Multidiscipline)
การเรียนรู้แบบนี้คล้ายกับแบบคู่ขนาน ผู้สอนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไปต่างคนต่างสอนวิชาของตน จัดกิจกรรมการเรียนรู้ของตนเองเป็น
ส่วนใหญ่ มาวางแผนการสอนร่วมกันในการให้งานหรือโครงการที่มีหัวเรื่อง แนวคิดหรือความคิดรวบยอดและปัญหาเดียวกัน
ข้อดี     1.   สนับสนุนการทำงานร่วมกันของทั้งผู้สอนและผู้เรียน ลดความซ้ำซ้อนของกิจกรรม
2.   ผู้สอนทุกคนและผู้เรียนมีเป้าหมายร่วมกันที่ชัดเจน
3.   ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการนำความรู้ไปใช้กับงานอาชีพจริง
ข้อจำกัด1.   มีผลกระทบต่อการจัดตารางสอนและการจัดแผนการเรียน

    4.รูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติ
เป็นการนำแนวคิดทฤษฎีรูปแบบการสอนชื่อ การสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม จอห์น ดิวอี้ (John Dewey: Group Investigation Model) กับรูปแบบการสอนแบบปฏิบัติการมาประยุกต์เข้าด้วยกันเป็นรูปแบบการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง เนื่องจากทั้งสองรูปแบบนี้มีลักษณะ จุดมุ่งหมายกระบวนการ และผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนมีลักษณะที่สอดคล้องกัน
จากแนวคิดรูปแบบการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้เป็นกลุ่ม และการสอนแบบปฏิบัติการ นำมาสังเคราะห์และพัฒนาแนวทางการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติได้  ต้องเชื่อว่า ความรู้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ลักษณะการออกแบบการเรียนรู้จะกระตุ้นให้ผู้เรียนค้นพบ เรียนรู้จากประสบการณ์ เรียนรู้สภาพจริง เป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่ เน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง มีอิสระในการปฏิบัติงาน
การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริงเป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการที่เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงจากการเผชิญสถานการณ์จริงและการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ฝึกคิด ฝึกลงมือทำ ฝึกทักษะกระบวนการต่าง ๆ ฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเองและฝึกทักษะการเสาะแสวงหาความรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม ผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติตามแนวประชาธิปไตย
รูปแบบการสอนของจอห์น ดิวอี้ (John Dewey, 1859) นักปรัชญาและนักจิตวิทยาพัฒนาการ ได้นำเสนอรูปแบบการสอนชื่อ “Group Investigation Model” ซึ่งเป็นรูปแบบการสอนที่มุ่งพัฒนาทักษะของผู้เรียนให้อยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยอย่างมีความสุข ซึ่งเป็นรูปแบบการสอนที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (Interpersonal) ทักษะการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม และการใฝ่หาความรู้ของผู้เรียน โดยผู้สอนมีหน้าที่เป็นผู้ให้คำแนะนำ อำนวยความสะดวก หรือเป็นเพียงที่ปรึกษาทางวิชาการ
การแบ่งกลุ่มทำงาน (Grouping Works) ผู้สอนจะดำเนินการร่วมกับผู้เรียนแบ่งกลุ่มย่อย มอบให้ปฏิบัติกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ศึกษาค้นคว้า แก้ปัญหา หรือปฏิบัติกิจกรรม ฯลฯ เน้นการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะตามแบบประชาธิปไตย การสอนแบบนี้ต้องดำเนินการอย่างมีหลักเกณฑ์ คือ
- วางจุดประสงค์ของการทำงาน
วางหน้าที่แต่ละคนให้แน่นอน
เสนอแนะให้รู้ว่าจะหาความรู้ได้อย่างไร เมื่อไร ที่ใด
การสอนแบบปฏิบัติการ มีกำเนิดมาจากการศึกษาค้นคว้าด้วยวิธีทดลองในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ที่ต้องใช้สารเคมีในการตรวจสอบ วิเคราะห์ ต่อมากลายเป็นกระบวนการสอนที่อาศัยการทดลองเครื่องไม้เครื่องมือและวัสดุต่าง ๆ ในปัจจุบันการสอนแบบปฏิบัติการมิได้ใช้เฉพาะวิชาวิทยาศาสตร์ ปัจจุบันการสอนแบบวิธีการปฏิบัติการเป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนได้เรียนจากการปฏิบัติจริง เป็นการเรียนจากประสบการณ์ตรง ผู้เรียนได้ทดลองทำปฏิบัติ เสาะหาข้อมูล จัดระเบียบข้อมูล พิจารณาหาข้อสรุป ค้นคว้าหาวิธีการ กระบวนการด้วยตนเอง หรือร่วมกันเป็นกลุ่มทางกลุ่มผู้ศึกษามีความคิดเห็นว่า หากจัดทำแผนการเรียนการสอนที่มีการจัดรูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติ โดยนำขั้นตอนของรูปแบบข้างต้นมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในสาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยเจาะลึกไปในส่วนของคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น องค์ประกอบคอมพิวเตอร์ หลักการทำงานของคอมพิวเตอร์ หัวข้อในการจัดการเรียนรู้นี้ สามารถนำเอารูปแบบการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติมาใช้ได้เป็นอย่างดี โดยมีการศึกษา ทดลอง เน้นการปฏิบัติ สรุปผลการเรียนรูที่ได้ รวมไปถึงการประเมินผลการเรียนรู้ที่เกิดในชั้นเรียนของตัวผู้เรียนเอง โดยเชื่อว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนั้นมีแนวโน้มที่จะพัฒนาสูงขึ้น และนอกจากนี้ยังพัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ ให้เกิดแก่ผู้เรียนในชั้นเรียนที่รับผิดชอบ
เนื้อหาและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
1)ขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้
    1.1)  การเตรียมการจัดกระบวนการเรียนรู้
1.สำรวจความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครอง
สำรวจเพื่อให้ทราบความต้องการของผู้เรียน ผู้ปกครองและชุมชน และเมื่อทราบความต้องการแล้ว ก็จะนำมาจัดอันดับความต้องการสูงสุดเรียงตามลำดับ จึงเปิดสอนวิชานั้น ๆ
2.การวิเคราะห์หลักสูตรและคำอธิบายรายวิชา
หลังจากที่สำรวจความต้องการแล้วจะนำหลักสูตรและคำอธิบายรายวิชามาวิเคราะห์เพื่อให้ทราบว่ามีเนื้อหาอะไร มีจุดประสงค์การเรียนรู้อย่างไรและมีกิจกรรมใดบ้างที่จะปฏิบัติ จากนั้นก็จะนำมากำหนดการสอนเพื่อจัดทำแผนการสอนต่อไป โดยเฉพาะการวิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา ผู้สอนจะนำมาให้ผู้เรียนลองฝึกการวิเคราะห์ก่อนเรียนทุกครั้ง เพื่อให้ทราบว่าในรายวิชานั้นมีเนื้อหา จุดประสงค์ และกิจกรรมใดบ้างที่จะต้องปฏิบัติ เป็นการฝึกคิดและการวางแผนก่อนเรียน
3.การจัดทำแผนการสอน
แผนการสอนเป็นหัวใจของกระบวนการจัดการเรียนให้บรรลุถึงเป้าหมาย โดยจะนำกำหนดการสอนมาจัดทำแผนการสอน การจัดทำจะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พยายามหลีกเลี่ยงกิจกรรม “ครูให้”  “ครูบอก” แต่จะเน้นลงไปที่ผู้เรียนได้ศึกษา ค้นคว้า ลงมือปฏิบัติจริง โดยเฉพาะการวัดผลประเมินผลต้องให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ การเรียนรู้ทั้ง 3 ด้าน คือ จิตพิสัย ทักษะพิสัย และพุทธิพิสัย และตรงตามสภาพจริงให้มากที่สุด แผนการสอนต้องทำล่วงหน้าก่อนนำไปสอน และอาจปรับให้เหมาะสมได้
4.สื่อการเรียนรู้
พยายามจัดหาโดยคำนึงถึงธรรมชาติและที่ผู้เรียนรู้จักหรือที่มีอยู่ใกล้ตัวในชุมชน โดยใช้ความสังเกต และวิเคราะห์เลือกใช้สื่อบางชนิดผู้เรียนสามารถนำมาปฏิบัติเองได้ จะเกิดความรักและความทะนุถนอมของใช้และใช้อย่างระมัดระวัง แต่ในบางอย่างให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมกันในการจัดหา หรือผลิตใช้เอง จะทำให้ผู้เรียนเกิดความภูมิใจ
5.การจัดเตรียมแหล่งการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้ไม่จำเป็นที่ผู้เรียนต้องอยู่ในห้องเรียนเพียงอย่างเดียว แหล่งความรู้ที่ผู้เรียนสามารถใช้ศึกษาหาความรู้ได้มีอยู่รอบด้าน ได้แก่ ห้องสมุด ใต้ต้นไม้ สถานที่ท่องเที่ยวหรือใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านเข้ามาเป็นวิทยากรได้
6.การวัดผลการประเมินผล
กำหนดพฤติกรรมที่ต้องการวัดผลประเมินผล กำหนดวิธีการและเครื่องมือการวัดผลประเมินผลไว้ให้พร้อม

2)  การจัดกิจกรรมการเรียนรู้
ประกอบด้วยขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.  ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน
ขั้นตอนแรกที่ผู้สอนจะต้องกระตุ้น ชักจูง และโน้มน้าวให้ผู้เรียนเกิดความกระตือรือร้นและสนใจอยากค้นหาความรู้ ผู้สอนอาจใช้วิธีการสนทนาซักถามและทบทวนประสบการณ์เดิมของผู้เรียนเพื่อเชื่อมโยงกับประสบการณ์ใหม่ที่จะต้องเรียนรู้ ผู้สอนอาจใช้สื่อการสอน เช่น แผ่นใส ภาพสี หรืออื่น ๆ มาเป็นสิ่งเร้าช่วยดึงความสนใจของผู้เรียน อาจใช้คำถามยั่วยุต่าง ๆ และที่สำคัญจะต้องสร้างบรรยากาศให้ผู้เรียนตอบสนอง เช่น การกระตุ้นให้ผู้เรียนตอบคำถามหรือแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ เพื่อโยงเข้าหาประสบการณ์ใหม่ ผู้สอนแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ (อาจเพิ่มเติมได้หากผู้เรียนต้องการ) และร่วมกันกำหนดขอบข่าย/ประเด็นความรู้ใหม่
2.  ขั้นศึกษาวิเคราะห์
เป็นขั้นตอนการแบ่งกลุ่มผู้เรียนเพื่อทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกันโดยการแสวงหาความรู้ แสดงความคิดเห็นร่วมกันวิเคราะห์และหาข้อสรุปในประเด็นที่ได้ตั้งไว้ในการทำกิจกรรมตามขั้นตอนนี้ผู้สอนจะต้องออกแบบกลุ่มให้เหมาะสม เพื่อให้ทุกคนมีส่วนร่วมมากที่สุด เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้กำหนดบทบาทหน้าที่ของสมาชิกในกลุ่ม ผู้สอนต้องจัดหาสื่อการสอนและแหล่งเรียนรู้ เช่น แผนภูมิ ใบความรู้ แผ่นใส รูปภาพ วีดีทัศน์ หนังสือ เอกสาร หรืออื่น ๆ เพื่อให้กลุ่มผู้เรียนได้ช่วยกันศึกษาวิเคราะห์ร่วมกัน โดยการตั้งประเด็นหรือหัวข้อในการศึกษาวิเคราะห์ให้เป็นไปตามแนวทางของจุดประสงค์การเรียนรู้และความต้องการของผู้เรียน การออกแบบงานโดยจัดทำเป็นใบงานให้ผู้เรียนได้ทำกิจกรรมกลุ่มเป็นหัวใจสำคัญที่ผู้สอนจะต้องคิดค้นและสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมสูงสุดของผู้เรียนและเกิดการบรรลุงานกลุ่มด้วย ตัวแทนกลุ่มนำเสนอผลงานกลุ่ม ผู้สอนทำหน้าที่นำอภิปรายให้กลุ่มใหญ่ร่วมกันวิเคราะห์ให้ข้อมูลประเด็นที่ยังไม่ชัดเจนหากเห็นว่ายังไม่สมบูรณ์ผู้สอนช่วยเพิ่มเติม แล้วร่วมกันสรุปสิ่งที่เรียนรู้ทั้งหมดในขั้นนี้
3.  ขั้นปฏิบัติ/ฝึกหัด/ทดลอง
เป็นขั้นที่แต่ละกลุ่มได้ร่วมกันอภิปราย แลกเปลี่ยนเรียนรู้และวิเคราะห์เพื่อให้ได้กระบวนการการปฏิบัติที่ชัดเจน รอบคอบ รัดกุม ทำให้เกิดผลงาน ผู้เรียนได้ทดลองฝึกปฏิบัติตามขั้นตอน ฝึกคิด วิเคราะห์ จินตนาการ สร้างสรรค์ โดยผู้สอนเป็นที่ปรึกษา ดูแล ช่วยเหลือ และประเมินการปฏิบัติเพื่อแก้ไขหากมีข้อบกพร่อง สถานที่สำหรับการปฏิบัติ ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันวางแผน จะใช้แหล่งเรียนรู้ใด ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการในโรงเรียน ห้องเรียนธรรมชาติ หรือสถานประกอบการ ก็สุดแล้วแต่ที่นั้นจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดีตามจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้
4.  ข้อสรุปและเสนอผลการเรียนรู้
เป็นขั้นที่ผู้เรียนแต่ละกลุ่มจะได้ประมวลข้อมูลความรู้จากประสบการณ์ทั้งหมดมาวิเคราะห์ สังเคราะห์เป็นความรู้ใหม่ วิธีการใหม่ สรุปและนำเสนอสิ่งที่ค้นพบต่อกลุ่มใหญ่ในรูปแบบที่หลากหลาย เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันและกัน เกิดการขยายเครือข่ายความรู้อย่างกว้างขวาง ทำให้การเรียนรู้มีความหมายยิ่งขึ้น
5.  ขั้นปรับปรุงการเรียนรู้และนำไปใช้
เป็นขั้นที่ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มปรับปรุงผลงานของตนเองที่ได้แนวคิดจากการนำเสนอของแต่ละกลุ่มในการปรับปรุงผลงานนั้นอาจนำความรู้ที่ได้รับจากกลุ่มอื่นมาพัฒนาให้ดีขึ้น หรือเกิดความคิดใหม่ สร้างสรรค์งานที่ต่างจากเดิม หรืออาจได้รับแนวคิดจากข้อเสนอแนะของผู้สอนมาประยุกต์สร้างผลงานใหม่ ๆ ที่สามารถนำไปใช้ในสภาพการณ์จริงได้
7.         ขั้นการประเมินผล วัดผลประเมินตามสภาพจริง
             โดยเน้นการวัดจากการปฏิบัติจากแฟ้มสะสมงานชิ้นงาน/ผลงาน ผู้เรียนประเมินตนเอง สมาชิกของแต่ละกลุ่ม ผู้ปกครองและผู้สอนมีบทบาทร่วมวัดผลประเมินผลด้วย
ลักษณะเด่นของการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ
1.ผู้เรียนมีความสุขกับการเรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน โดยผ่านกิจกรรมที่หลากหลายและสื่อที่เน้นความสนใจ
2.ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามความสนใจ ความถนัด ตามศักยภาพของตน ด้วยการศึกษา ค้นคว้า ฝึกปฏิบัติ ฝึกทักษะ สรุปองค์ความรู้ได้ ทำให้เกิดความเชื่อมั่น เป็นแรงจูงใจให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน
3.กิจกรรมกลุ่มช่วยเสริมสร้างลักษณะนิสัยที่พึงประสงค์ เกิดกระบวนการทำงานกลุ่ม เช่น มีการวางแผนการทำงานร่วมกัน มีความรับผิดชอบและเสียสละ มีวินัยในตนเอง มีพฤติกรรมที่เป็นประชาธิปไตย เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี รู้จักรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4.ผู้เรียนเกิดกระบวนการคิดจากการร่วมกิจกรรม และการค้นหาคำตอบจากประเด็นคำถามของผู้สอนและเพื่อนๆ สามารถค้นหาวิธีการและคำตอบได้ด้วยตนเอง สามารถแสดงออกได้ชัดเจนมีเหตุผล
5.ทุกขั้นตอนการจัดกิจกรรม จะสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้ผู้เรียนได้ซึมซับสิ่งที่ดีงามไว้ในตนเองตลอดเวลา
6.กระบวนการเรียนรู้คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยให้แต่ละคนเรียนรู้เต็มตามศักยภาพของตน
7.ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข เกิดการพัฒนารอบด้าน มีอิสระที่จะเลือกสาระการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับตนเอง และนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
แนวคิดสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นการปฏิบัติ
1.เป็นการจัดในลักษณะกลุ่มปฏิบัติการที่เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงจากการเผชิญสถานการณ์จริงและการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดจากการเรียนรู้จากการกระทำ
2.ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ฝึกค้นคว้า ฝึกลงมือทำ ฝึกทักษะกระบวนการต่างๆ ฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเอง และฝึกทักษะการเสาะแสวงหาความรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม
3.ผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติตามแนวทางประชาธิปไตย
4.เน้นการฝึกให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ

5.การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน(Problem-based Learning) PBL
1. ความหมายของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
       การเรียนรู้โดย ใช้ปัญหาเป็นฐาน คือ วิธีการที่นักเรียนเป็นกลุ่มย่อยเรียนรู้โดยใช้ประเด็น สำคัญในกรณีปัญหาที่เป็นจริงหรือกำหนดขึ้น เป็นตัวกระตุ้นให้นักเรียนศึกษาด้วยตนเองโดยการสืบ ค้นข้อมูลหาความรู้หรือทักษะต่างๆแล้วนำความรู้ที่ค้นหามาเล่าสู่กันฟัง พร้อมทั้งร่วมกันอภิปรายร่วม กันเรียนรู้แล้วลงสรุปความรู้ใหม่ 

2. กลไกพื้นฐานในการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
1. Problem-based Learning คือ ขบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนใช้ ปัญหา เป็นหลัก ในการแสวงหาความรู้ด้วยกลวิธีหาข้อมูลเพื่อพิสูจน์สมมติฐานอันเป็นการแก้ปัญหานั้น โดยผู้เรียนจะ ต้องนำปัญหาเชื่อมโยงกับความรู้เดิม ความคิดที่มีเหตุผล และมีการแสวงหาความรู้ใหม่ขบวนการ เรียนรู้แบบ Problem-based สามารถเกิดขึ้นได้กับการเรียนรายบุคคล หรือการเรียนกลุ่มย่อยได้รู้ ความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบทั้งในด้านการกำหนดการดำเนินงานของตนเอง และการประเมินผลของตนเอง ตลอดจนการวิพากษ์วิจารณ์งานของตนเองพัฒนาความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นทีม และยอมรับประโยชน์ของการทำงานร่วมกันเจน โดยอาศัยความรู้พื้นฐานของสมาชิกในกลุ่ม หรือการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารตำราหรือสื่ออื่นๆ
2. Self-directed Learning  คือ ขบวนการเรียนรู้ ที่ให้ผู้เรียนมีเสรีภาพในการใช้ความ รู้ ความสามารถในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง โดยผู้เรียนจะต้องรับผิดชอบทั้งในด้านการกำหนดการดำเนินงานของตนเอง และการประเมินผลของตนเอง ตลอดจนการวิพากษ์วิจารณ์งานของตนเอง ด้วย
3. Small-group Learning  คือ การเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อย เป็นวิธีการที่ทำให้ผู้เรียนได้ พัฒนาความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นเป็นทีม และยอมรับประโยชน์ของการทำงานร่วมกัน ค้นคว้าหาแนวความคิดใหม่ๆ
3. กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
ขั้นตอนที่ 1 กลุ่มผู้เรียนทำความเข้าใจคำศัพท์ ข้อความที่ปรากฏอยู่ในปัญหาให้ชัด เจน โดยอาศัยความรู้พื้นฐานของสมาชิกในกลุ่ม หรือการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารตำราหรือสื่ออื่นๆ
ขั้นตอนที่ 2 กลุ่มผู้เรียนระบุปัญหาหรือข้อมูลสำคัญร่วมกัน โดยทุกคนในกลุ่มเข้า
ใจปัญหา เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ใดที่กล่าวถึงในปัญหานั้น
ขั้นตอนที่ 3 กลุ่มผู้เรียนระดมสมองเพื่อวิเคราะห์ปัญหาต่างๆอธิบายความเชื่อมโยง
ต่างๆของข้อมูลหรือปัญหาเหตุผลที่จะอธิบายปัญหาหรือข้อมูลที่พบ โดยใช้พื้นฐานความรู้เดิมของผู้เรียน การแสดงความคิด อย่างมีเหตุผล ตั้งสมมติฐานอย่างสมเหตุสมผลสำหรับปัญหานั้น
ขั้นตอนที่ 5 กลุ่มผู้เรียนกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้เพื่อค้นหาข้อมูลหรือความรู้ที่
จะอธิบายหรือทดสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้ ผู้เรียนสามารถบอกได้ว่าความรู้ส่วนใดรู้แล้ว ส่วนใดต้องกลับไปทบทวน ส่วนใดยังไม่รู้หรือจำเป็นต้องไปค้นคว้าเพิ่มเติม
ขั้นตอนที่ 6 ผู้เรียนค้นคว้ารวบรวมสารสนเทศจากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่างๆเพื่อ พัฒนาทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง
ขั้นตอนที่ 7 จากรายงานข้อมูลหรือสารสนเทศใหม่ที่ได้มา กลุ่มผู้เรียนนำมา อภิปราย วิเคราะห์ สังเคราะห์ ตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ แล้วนำมาสรุปเป็นหลักการและประเมินผลการ เรียนรู้
กระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาไว้ดังนี้
1. ทำความเข้าใจกับปัญหาเป็นอันดับแรก
2. แก้ปัญหาด้วยเหตุผลทางคลินิกอย่างมีทักษะ
3. ค้นหาการเรียนรู้ด้วยระบวนการปฏิสัมพันธ์
4. ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
5. นำความรู้ที่ได้มาใหม่ในการแก้ปัญหา
6. สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้แล้ว 
4. ลักษณะสำคัญของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน PBL
1
. ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้อย่างแท้จริง
2
. การเรียนรู้เกิดจากกลุ่มผู้เรียนที่มีขนาดเล็ก
3
. ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกหรือผู้ให้คำแนะนำ
4
. ใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้
5
. ปัญหาที่ใช้มีลักษณะคลุมเครือ ไม่ชัดเจนปัญหาหนึ่งอาจมีคำตอบได้หลายคำตอบ
หรือแก้ไขปัญหาได้หลายทาง

6
. ผู้เรียนแก้ไขปัญหาด้วยการแสวงหาความรู้ใหม่ๆด้วยตนเอง
7
. ประเมินผลจากสถานการณ์จริง โดยดูจากความสามารถในการปฏิบัติ
6. บทบาทผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
1. ใช้คำถามนำและคำถามปลายเปิด
2
. ช่วยผู้เรียนสะท้อนประสบการณ์ที่ผู้เรียนมีอยู่
3
. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างอิสระ
4
. เป็นพี่เลี้ยงดูแลให้ผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน และให้การอภิปรายอยู่ใน
     กรอบที่กำลังศึกษา

5
. ตั้งประเด็นที่จำเป็นในการพิจารณาและอภิปรายร่วมกัน
6
. ให้แนวทางในการค้นคว้าหาความรู้ ตลอดจนกระบวนการเรียนอย่างระมัดระวัง
7
. กระตุ้นและให้การสนับสนุนผู้เรียน
7. ประโยชน์ของการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
1
. ช่วยให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวได้ดีขึ้นต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในเรื่องข้อ
 มูลข่าวสารในโลกปัจจุบัน

2
. เสริมสร้างความสามารถในการใช้ทรัพยากรของผู้เรียนได้ดีขึ้น
3
. ส่งเสริมการสะสมการเรียนรู้ และการคงรักษาข้อมูลใหม่ไว้ได้ดีขึ้น
4
. เมื่อใช้ในการแก้ปัญหาของสาขาวิชา ทำให้สนับสนุนความร่วมมือมากกว่า
 การแข่งขัน
 8. การประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
การประเมินผลของการ เรียนรู้ โดยใช้ปัญหาเป็นฐานว่า เมื่อได้มีการพัฒนาวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน เครื่องมือการประเมินผลสอดคล้องกับแนวทฤษฎีที่ต้องใช้ในการประเมินการพัฒนาของผู้เรียนมีการบูรณาการวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเข้าไว้เป็นการพัฒนาแผนการเรียนรู้ วิธีการประเมินผลการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน ได้แก่
1
. แฟ้มงานการเรียนรู้
2
. บันทึกการเรียนรู้
3
. การประเมินตนเอง
4
. ข้อมูลย้อนกลับจากเพื่อน
5
. การประเมินผลรวบยอด

6.การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 
หมายถึง  การจัดกิจกรรมที่สอดคล้องกับการดำรงชีวิต เหมาะสมกับความสามารถและความสนใจของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและลงมือปฏิบัติจริงทุกขั้นตอน จนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
หลักในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมีหลักการที่สำคัญดังนี้                    
1.1.   ให้ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง   โดยการ 
1.1.1    แสวงหาข้อมูล 
1.1.2   ศึกษาทำความเข้าใจ
1.1.3   คิดวิเคราะห์
1.1.4  ตีความ
1.1.5  แปลความ
1.1.6  สร้างความหมายแก่ตนเอง
1.1.7  สังเคราะห์ข้อมูล
1.1.8  สรุปข้อความรู้
1.2  ให้ผู้เรียนมีบทบาทและมีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้ให้มากที่สุด
1.3  ให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และได้เรียนรู้จากกันและกัน ได้แลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ ความคิด  และประสบการณ์แก่กันและกันให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
1.4 ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ "กระบวนการ"  ควบคู่ไปกับ "ผลงาน/ข้อความรู้ที่สรุปได้"
1.5 ให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวันการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้อย่างมีความสุข  เป็นสภาพการจัดการเรียนรู้ในบรรยากาศที่ผ่อนคลาย เป็นอิสระ ยอมรับความแตกต่างของบุคคล   มีความหลากหลายในวิธีการเรียนของผู้เรียน  และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองให้เต็มศักยภาพซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาอย่างรอบด้าน รักการเรียนรู้อันจะส่งผลให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของการเรียนรู้  และ ต้องการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ซึ่งแนวทางจัดการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความสุข   มีแนวทางที่สำคัญคือ
1.สิ่งที่เรียนต้องเป็นเรื่องใกล้ตัว  มีความหมาย  สอดคล้องกับการดำรงชีวิตของผู้เรียน บทเรียนควรจะเริ่มจากง่ายไปหายาก และมีความต่อเนื่องในเนื้อหาวิชา
2.กิจกรรมการเรียนต้องมีความหลากหลาย   น่าสนใจ  เร้าใจที่จะปฏิบัติเปิดโอกาสให้ผู้เรียนทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรม  ได้ลงมือปฏิบัติ สัมผัสจับต้องด้วยตนเอง  และเป็นกิจกรรมที่มุ่งพัฒนากระบวนการคิด ตลอดจนพัฒนาทักษะชีวิตและสังคม
3.สื่อการเรียนน่าสนใจ มีความหลากหลาย   ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการทำ การใช้ เป็นสื่อที่สามารถสร้างความเข้าใจได้ชัดเจน    สอดคล้องกับกิจกรรมและจุดประสงค์ที่กำหนด  จนผู้เรียนเกิดความคิดรวบยอด หรือสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง
4.การประเมินผล  ควรมุ่งเน้นการประเมินผลเพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ไม่กดดันหรือสร้างความเครียด และควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ประเมินตนเอง ประเมินซึ่งกันและกัน เพื่อสร้างความภาคภูมิใจ และเติมพลังการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน
5.ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียน  ควรแสดงออกด้วยความรัก  ความเมตตา  มีความอาทรซึ่งกันและกัน ยอมรับในความแตกต่างซึ่งกันและกัน เชื่อมั่นในศักยภาพของกันและกัน เปิดโอกาสให้ได้แสดงความสามารถและพัฒนาตนเองอย่างเต็มที่ตามแบบของตนเอง 
6.ครูควรให้การเสริมแรงและสนับสนุนให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จ  ซึ่งจะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความสุข เกิดการยอมรับและเห็นคุณค่าของตนเอง มีความกล้าที่จะเผชิญกับปัญหา กล้าที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ มีเจตคติที่ดีต่อตนเอง บุคคลอื่นและสิ่งต่าง ๆ รอบตัว
7.ครูไม่ควรใช้อำนาจกับผู้เรียน ไม่เข้มงวดจนผู้เรียนเกิดความเครียด  ซึ่งจะเป็นการสกัดกั้นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการกล้าแสดงออกที่หลากหลายของผู้เรียน
สรุปได้ว่าการเรียนรู้อย่างมีความสุขนั้น  ครูผู้สอนจำเป็นต้องจัดให้เกิดขึ้นตลอดเวลาทั้งในระหว่างการเรียนรู้ และ หลังการเรียนรู้แล้ว การที่ครูจะจัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความสุขนั้น ที่สำคัญครูจะต้องมีความสุขในการจัดการเรียนรู้ด้วย  ยอมรับในความสำคัญของผู้เรียน พร้อมที่จะเปิดโอกาสที่เหมาะสมให้กับผู้เรียนทุกคน และ พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ร่วมกันกับผู้เรียน ซึ่งครูและนักเรียนควรจะมีการปรับปรุงบทบาทของตนเองตามแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
บทบาทครูและบทบาทผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้โดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
            1. บทบาทครู
1)ศึกษามาตรฐานการศึกษา และ วิเคราะห์หลักสูตร
2)วางแผนการสอน   กำหนดเป้าหมาย  และจุดประสงค์การเรียนรู้
      ร่วมกับผู้เรียน
3)นำกระบวนการวิจัยในชั้นเรียนเข้ามาใช้ในการสอน
4)ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
และการเรียนรู้อย่างมีความสุข ร่วมกับผู้เรียน
5)เตรียมวัสดุ  อุปกรณ์  สื่อการเรียนรู้
6)ดูแลกระบวนการเรียนรู้  กระตุ้นให้ปฏิบัติ  ให้คำแนะนำ
7)นำอภิปราย  ช่วยผู้เรียนประมวลสรุปข้อเรียนรู้
8)เสริมความรู้   และ ส่งเสริมการนำความรู้ไปใช้
9)วัดผล  ประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียนตามสภาพจริง
10)บันทึกสรุปผลการสอน
11)วิเคราะห์เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอน
            2. บทบาทผู้เรียน
1)ร่วมกำหนดเป้าหมาย และ จุดประสงค์การเรียนรู้
2)ร่วมวางแผน  ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้
3)สร้างความรู้ด้วยตนเอง  โดยการแสวงหาข้อมูล  ศึกษาทำความเข้าใจ คิดวิเคราะห์ ตีความ แปลความสร้างความหมายแก่ตนเองสังเคราะห์ข้อมูล สรุปข้อความรู้
4)มีส่วนร่วมในกระบวนการเรียนรู้     
5)มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และเรียนรู้จากกันและกัน
6)เรียนรู้กระบวนการควบคู่ไปกับผลงาน / ข้อความรู้ที่สรุปได้
7)นำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
จะเห็นได้ว่าบทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนั้น คือจะอยู่ในฐานะผู้คอยอำนวยความสะดวกโดยจัดสภาพแวดล้อมการเรียน บรรยากาศการเรียน วิธีการเรียนเรียนและสื่อวัสดุอุปกรณ์ในการเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ด้วยตนเอวของผู้เรียน ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ได้พัฒนาองค์ความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเอง การเรียนรู้นั้น ๆ จึงจะเป็นสิ่งที่มีความหมายต่อผู้เรียน

7.กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ
 ความหมาย
         การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ  เป็นการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยการ
    1.  ผสมผสานหลักสูตร – ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน
     2.  ผสมผสานกระบวนการสอน / กระบวนการเรียนรู้ / ปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมอันดีงาม  โดยคำนึงถึง
-          ความแตกต่างระหว่างบุคคล
-          ความสามารถทางสติปัญญา
                การบูรณาการทางการสอนจะช่วยฝึกให้ผู้เรียนรู้จักนำความรู้ไปผสมผสานกัน   ฝึกให้รู้จักใช้ เหตุผลและการนำไปประยุกต์ใช้  เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
 เหตุผลในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
ด้านจิตวิทยา
ผู้เรียนได้มีโอกาสได้รับความรู้ที่หลากหลาย เกิดการนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
ด้านสังคมวิทยา
ผู้เรียนต้องการทักษะจากหลายสาขาวิชาร่วมกัน จึงจะสามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
ด้านบริหาร
-          แก้ปัญหาด้านการขาดแคลนบุคลากร
-          แก้ปัญหาความซ้ำซ้อนของเนื้อหาวิชา
-          ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย
แนวคิด / ทฤษฎี
              กระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับ
1.      ปรัชญาการศึกษาแบบ  Progressivism  ของ  John Dewey
-          การศึกษาคือชีวิต : คนต้องศึกษาตลอดชีวิต (ความรู้มากมายมหาศาล)
-          เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
-     การเรียนโดยการแก้ปัญหา
-          ส่งเสริมร่วมมือการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
-          สร้างเสริมการอยู่ร่วมกันในวิถีประชาธิปไตย
2.   ทฤษฎีการเรียนรู้ในด้าน  Cognitive  ที่ใช้  Constructivism  Approach   หลักสำคัญของ  Constructivism  คือ ผู้เรียนต้องสร้างความรู้เอง  ครูเป็นผู้ช่วยโดยจัดหาข้อมูลข่าวสารที่มีความหมายให้แก่ผู้เรียน  หรือให้โอกาสผู้เรียนได้ค้นพบด้วยตนเอง  และเป็นผู้ลงมือกระทำ
           3.   ทฤษฎีการเรียนรู้อย่างมีความหมายของ  Ausubel ทฤษฎีการเรียนรู้ของ  Ausubel  เน้นความสำคัญของการเรียนรู้อย่างมีความเข้าใจและมีความหมาย   การเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้เชื่อมโยงสิ่งที่เรียนรู้ใหม่เข้ากับความรู้เดิมที่อยู่ในสมองของผู้เรียน
              4.   การถ่ายโยงการเรียนรู้  (Transfer of Learning)  การถ่ายโยงการเรียนรู้  หมายถึง  การนำสิ่งที่เรียนรู้แล้วไปใช้ในสถานการณ์ใหม่  การถ่ายโยงการเรียนรู้เป็นกระบวนการที่สำคัญเพราะวัตถุประสงค์ของการศึกษาที่สำคัญประการหนึ่ง คือ การเตรียมผู้เรียนให้สามารถนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ในอนาคตทั้งในด้านประกอบอาชีพ และการแก้ปัญหาต่าง ๆ
  ลักษณะสำคัญของการบูรณาการ
1.      ความรู้ของวิชาต่าง ๆ     (บูรณาการหลักสูตร)
2.      ความรู้และกระบวนการเรียนรู้   (บูรณาการกระบวนการเรียนการสอน)
3.      พัฒนาการทางความรู้และพัฒนาการทางจิตใจ (จิตพิสัย)  เน้นทั้งความรู้ และเจตคติ  ค่านิยม  ความสนใจ  สุนทรียภาพ
4.      ความรู้และการกระทำ  เน้นทั้งความรู้และทักษะพิสัย
5.      สิ่งที่เรียนในโรงเรียนกับสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตประจำวันของผู้เรียน
6.      สิ่งที่เรียนในโรงเรียนต้องมีความหมายและมีคุณค่าต่อชีวิต สามารถนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตให้สูงขึ้น

8.การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
1. ความหมายการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน       
การจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน (Community Based Learning) หมายถึง การจัดการเรียนการสอนที่ใช้ชุมชนเป็นแหล่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังหรือเป็นกระบวนการเรียนการสอนในชุมชนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ในองค์ความรู้ที่กำหนดจากชุมชนภายใต้การมีส่วนร่วมของชุมชนทั้งด้านกระบวนการเรียนการสอนและการประเมินผล
เป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
1. เพื่อพัฒนาชุมชนและสร้างความยั่งยืนแก่ชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตามปรัชญาของการจัดตั้งคณะฯ
2. เพื่อเป็นองค์กรของชุมชน เป็นไปตามเป้าประสงค์ของคณะฯ
3. เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ในสภาพหรือสถานการณ์จริงเพื่อให้ผู้เรียนเกิดองค์ความรู้หรือปัญญา
4. เพื่อเป็นการพัฒนาสมรรถนะหลักของคณะฯ
ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้เกิดจากการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
3.ด้านคุณธรรมจริยธรรม
1. แสดงออกซึ่งการเป็นแบบอย่างที่ดีของการมีวินัย รับผิดชอบ ซื่อสัตย์
2. แสดงออกซึ่งการเป็นผู้นำทางด้านการมีวินัย รับผิดชอบและซื่อสัตย์ ที่ช่วยให้ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านคุณธรรมจริยธรรม
3. สามารถแก้ปัญหาทางด้านคุณธรรมจริยธรรมในด้านการมีวินัย ความรับผิดชอบ และความซื่อสัตย์ที่เกิดขึ้นในชุมชน
4. มีทัศนคติที่ดีต่อการทำงานในชุมชน
3.ด้านความรู้
1. สามารถนำความรู้ทางทฤษฎีหรือแนวคิดในศาสตร์ต่าง ๆ หรือวิชาชีพ มาประยุกต์ในการทำงานในชุมชนได้
2. สามารถวิเคราะห์สังเคราะห์สถานการณ์ต่าง ๆ ในชุมชนได้โดยใช้กรอบความรู้ที่ได้เรียนมา
3.3 ด้านทักษะทางปัญญา
1. สามารถแก้ปัญหาหรือจัดการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนได้ โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์วิพากษ์ วิจารณ์อย่างรอบคอบ
2. สามารถสร้างสรรค์องค์ความรู้และนวัตกรรมต่าง ๆ จากการเรียนรู้จากชุมชนได้
3.4 ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
1. แสดงออกซึ่งภาวะผู้นำ
2. สามารถทำงานเป็นทีม
3. มีความรับผิดชอบในการพัฒนาตัวเองในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
3.5 ด้านการคิดวิเคราะห์ซึ่งตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. สามารถเก็บข้อมูลในชุมชนและนำมาวิเคราะห์ด้วยกระบวนการวิเคราะห์ที่เหมาะสมและสามารถเข้าใจ
2. สามารถสื่อสารโดยการนำเสนอปัญหาหรือผลงานต่าง ๆทั้งด้านเนื้อหาและตัวเลขที่สำคัญลำให้ผู้อื่นเกิดความรู้ ความเข้าใจได้เป็นอย่างดี รวมถึงการรายงานต่าง ๆ
3. สามารถใช้เทคโนโลยีในการสืบค้น บันทึก วิเคราะห์และนำเสนอข้อมูลหรือผลงานต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
3.วิธีการประเมินผล
1. ประเมินผลโดยอาจารย์
2. ประเมินผลโดยชุมชน
3. ประเมินตนเอง
4. ประเมินโดยเพื่อน
4.การนำ CBL มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
1.กำหนด CBL เป็นรูปแบบการเรียนการสอนและวิธีการประเมินผล
2.กำหนดกิจกรรมหรือขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล
3.ชี้แจงอาจารย์ผู้สอนและวางแผนการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ CBL กำหนด
4.ศึกษาชุมชนและคัดเลือกชุมชน
5.ทำหนังสือขออนุมัติการใช้ชุมชนเป็นฐานในการเรียนรู้ผ่านคณบดีหรืออธิการบดีไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดหรือนายอำเภอ อบต./อบจ. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน
6.วางแผนและเตรียมชุมชนเพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ของผู้เรียน
7.ดำเนินการจัดการเรียนการสอน
8.การประเมินผลโดยการมีส่วนร่วม
9.อาจารย์ผู้สอน พัฒนาชุมชนอย่างต่อเนื่อง
5.เทคนิคการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน
5.วิธีการสอน การจัดการเรียนการสอนได้ให้ความสำคัญกับนักศึกษาในฐานะเป็นผู้ดำเนินงานหลัก ในขณะที่อาจารย์ผู้สอนมีบทบาทเป็นพี่เลี้ยง มีหน้าที่ในการเอื้ออานวยให้นักศึกษาทางานได้ โดยมีกระบวนการเรียนการสอน ดังนี้
1. เตรียมการ
1.อาจารย์และนักศึกษากาหนดกระบวนการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน ให้สอดคล้องกันทุกขั้นตอน ตั้งแต่วางแผนดาเนินการ และ ประเมินผล
1.ทบทวนเรื่องแนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องในรายวิชา
1.คัดเลือกพื้นที่และกลุ่มเป้าหมาย
1.เตรียมพื้นที่ศึกษา โดย นักศึกษาเข้าไปสร้างความสัมพันธ์กับปราชญ์ชาวบ้าน และชี้แจง
เป้าหมายและวัตถุประสงค์การของดาเนินกิจกรรม
2. ดำเนินการ
2.ศึกษาสภาพทั่วไปของพื้นที่เป้าหมาย
2.จัดทาข้อเสนอโครงการศึกษาและพัฒนา (Research and Development)
2.ศึกษาเรียนรู้ ดาเนินการ การเรียนการสอนร่วมกับปราชญ์ชาวบ้านในชุมชน
2.สรุปบทเรียนการดาเนินงาน
3. การติดตามและประเมินผล
3.การติดตามและประเมินผลโดยอาจารย์ผู้สอนที่ทาหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงตลอดทุกขั้นตอน
โดยใช้เครื่องมือทางวิชาการคือการสรุปบทเรียนระหว่างการทางาน (AAR: After Action Review)การดูชิ้นผลงานของนักศึกษา และ การสัมภาษณ์ปราชญ์ชาวบ้างอย่างไม่เป็นทางการ
3.จัดทารายงานผลการดาเนินงาน
3.กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้

5.ผลลัพธ์ต่อผู้เรียน อาจารย์ และชุมชน
1.ผู้เรียน
1. ผู้เรียน เกิดการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
2. เกิดคุณธรรม และ จริยธรรม ทั้งการมีจิตอาสา ความเสียสละ อดทน มีวินัย ความรับผิดชอบ และเมตตากรุณา
3. เกิดการพัฒนาทักษะในการสื่อสาร ทั้งการสื่อสารระหว่างนักศึกษากับชาวบ้านในชุมชน นักศึกษากับหน่วยงาน และนักศึกษากับอาจารย์ ผ่านการนาเสนอผลงาน การเขียนรายงาน
4. ทักษะด้านปัญญา เกิดความสามารถในการจัดการความรู้ คือ สามารถสกัดความรู้จากการ
ปฏิบัติ จดบันทึกแล้วนามาจัดหมวดหมู่ และนามาสรุปสาระสำคัญ
5. ทักษะด้านความรู้ มีความรู้ในการเขียนโครงการ การจัดทาโครงการ และการสรุปผลการ
ดาเนินงานโครงการ เรียนรู้ปรากฏการณ์ และการเปลี่ยนแปลงในชุมชน
6. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ นักศึกษาเกิดความสัมพันธ์อันดีกับ
เพื่อนสมาชิกในกลุ่ม และกับชุมชนเป้าหมายที่ไปจัดทาโครงการ สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง
2. อาจารย์
1. เกิดกระบวนทัศน์ใหม่ในการจัดการเรียนการสอน ที่เชื่อมั่นในศักยภาพนักศึกษา
ปรับบทบาททาหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงที่คอยเอื้ออานวย มากกว่าเป็นผู้สอนแบบบรรยาย
2. เกิดเครือข่ายการทางานกับชุมชนรอบ ๆมหาวิทยาลัย
3. เกิดองค์ความรู้ใหม่ในการจัดการเรียนการสอนแบบ CBL และ PBL
4. เกิดแรงบันดาลใจในความเป็น ครูแบบใหม่ แบบบูรณาการ ใช้วิชาการเรียนการสอน
รับใช้สังคม
3. ชุมชน
1. ชุมชนมีส่วนร่วมในการทากิจกรรม เกิดพลังในการทางานเพื่อชุมชน/สังคม เนื่องจากเห็น
พลังเรียนรู้ของหนุ่มสาวนักศึกษารุ่นใหม่
2. ปราชญ์ชาวบ้านได้ทบทวนการทางานที่ผ่านมา และเกิดแนวทางการทางานร่วมกับ
นักศึกษาที่เป็นคนรุ่นใหม่
5.ปัจจัยแห่งความสำเสร็จ
1. คนในชุมชนให้ความสนใจและร่วมมือเป็นอย่างดี
2. มีการรวมกลุ่มของคนในชุมชนที่หลากหลาย
3. นักศึกษามีความร่วมมือ ร่วมใจและมีความตั้งใจในการศึกษาชุมชน
5.ปัญหาและอุปสรรค
ช่วงเวลาในการศึกษาชุมชน เป็นช่วงเวลาที่มีกลุ่มคนในชุมชนไม่หลากหลายเท่าที่ควรโดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงาน และเยาวชน เนื่องจากเป็นช่วงเวลาทำงานและเวลาเรียน

9.การจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน (Research - Based Learning : RBL)

1. ความหมายของการจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐาน
ให้ความหมายของการวิจัยว่า เป็นกระบวนการสืบหาความจริงเกี่ยวกับปรากฏการณ์ตามธรรมชาติอย่างมีระบบ มีการควบคุม การสังเกตการบันทึก การจัดระเบียบข้อมูล การวิเคราะห์และตีความหมายเพื่อให้ได้เป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำมาสร้างเป็นข้อสรุปเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์นั้น ๆ และนำผลที่ได้มาพัฒนาหรือสร้างกฎ ทฤษฎี ที่ทำให้ควบคุม หรือทำนายเหตุการณ์ต่าง ๆ ได้
ทิศนา แขมมณี (2548 : 3) ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้การวิจัยเป็นฐานหรือใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ก็คือ การจัดให้ผู้เรียนและใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือกระบวนการสืบสอบในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษาวิจัย ในการดำเนินการแสวงหาความรู้ใหม่หรือคำตอบที่เชื่อถือได้
บทบาทครูและผู้เรียนในการเรียนการสอนแบบครูใช้ผลการวิจัย
            แนวทางที่ 1 ครูใช้ผลการวิจัยในการเรียนการสอนครูใช้ผลการวิจัยประกอบการเรียนการสอนเนื้อหาสาระต่าง ๆ ช่วยให้ผู้เรียนขยายขอบเขตของความรู้ ได้ความรู้ที่ทันสมัยและคุ้นเคยกับแนวคิดการวิจัย
บทบาทครู
ครูสืบค้นแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสาระที่สอน
ครูศึกษางานวิจัย/ข้อมูลข่าวสาร/องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระ
ครูนำผลการวิจัยมาใช้ประกอบเนื้อหาสาระที่สอนเสริมให้ผู้เรียนได้ความรู้เพิ่มขึ้นเช่น ครูนำผลงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องพืช หรือสุขภาพ มาเสริมการเรียนรู้สาระดังกล่าว
ประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เช่น ครูอ่านผลการวิจัยเกี่ยวกับทฤษฎีความคาดหวังและนำมาใช้กับนักเรียน เป็นต้น
ครูและผู้เรียนร่วมกันอภิปรายเกี่ยวกับผลการวิจัย/กระบวนการวิจัย/ความสำคัญของการวิจัย
ครูวัดและประเมินผลการเรียนรู้เกี่ยวกับผลการวิจัย/กระบวนการวิจัยควบคู่กับการเรียนรู้สาระตามปกติ
บทบาทผู้เรียน
- เรียนรู้เนื้อหาสาระโดยมีผลการวิจัยประกอบ ทำให้ผู้เรียนคุ้นเคยกับเรื่องของการวิจัย การแสวงหาความรู้การใช้เหตุผล ฯลฯ
- อภิปรายประเด็นต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับผลการวิจัย/กระบวนการวิจัย/ความสำคัญของการวิจัย